วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555



สายพันธุ์ปลาโลมา

ปลาโลมาปากขวด
               ปลาโลมาปากขวดได้มีการบันทึกว่าเป็นปลาโลมาที่มีขนาดกลาง  ร่างกายกำยำ  มีครีบโค้งปานกลาง มีสีดำ  ตัวโตเต็มวัยมีความยาว 2- 3.8 เมตร  น้ำหนัก  220 500 กิโลกรัม (เฉลี่ย  242 กิโลกรัม)  มีความแตกต่างกันในแต่ละลักษณะทางภูมิศาสตร์   ขนาดของร่างกายดูจะมีความแปรผันเปลี่ยนแปลงอย่างตรงกันข้ามกับอุณหภูมิของน้ำในแต่ละส่วนของโลก   มีสีเทาสว่างถึงสีดำในส่วนหน้าและมีสีสว่างในช่วงท้อง
               ปลาโลมาปากขวดมีขนาดที่แตกต่างกันตามที่อยู่อาศัย พบได้บริเวณใกล้ชายฝั่งในเขตร้อน  มีแหล่งที่อยู่ที่กว้างขวางทั่วไป  พบได้ตามชายฝั่งจากปากแม่น้ำ อ่าว ทะเลสาบ อ่าวน้ำตื้น  บางครั้งพวกมันอาจจะท่องเที่ยวไปไกลตามแม่น้ำ  เขตนอกชายฝั่งมักไม่ค่อยพบหรือบางเขตนอกชายฝั่งอาจพบได้แถวเกาะ 




ปลาโลมาริซโซส์
                         ปลาโลมาริซโซส์   มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่    5   ของตระกูล  ซึ่งตัวเต็มวัยมีขนาด  ประมาณ  4  เมตร  ทั้งเพศผู้และเพศเมีย  ร่างกายส่วนหน้ามีความแข็งแรงอย่างมาก  ครีบส่วนหน้าเป็นครีบที่มีความยาวที่สุดในทุกส่วนของร่างกายส่วนหัวมีรูปร่างแบบกระเปาะ  และมีรอยย่นในแนวตรงยาวในพื้นที่ส่วนหน้า  สีเปลี่ยนไปตามอายุที่มากขึ้น  ช่วงอายุไม่มากมีสีเทาถึงน้ำตาล  หลังจากนั้นจะมีสีดำ  และเริ่มมีสีสว่างขึ้นขณะที่เข้าสู่ระยะตัวเต็มวัย 
                        ปลาโลมาริซโซส์อาศัยอยู่ในมหาสมุทรลึก และที่ลาดเอียงอย่างต่อเนื่องที่ระดับความลึก  400 1000 เมตร และพบบ่อยที่ปากแม่น้ำ  บางครั้งอาจพบอยู่บนผิวน้ำ 


ปลาโลมาอิรวดี
ปลาโลมาอิรวดี  มีลักษณะคล้ายกับ  ปลาวาฬ Delphinapterus  leucas  มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับปลาวาฬนักล่า  Orcinus  orca  หัวของปลาโลมาอิรวดี  มีลักษณะกว้าง  ไม่มีรอยหยัก  ครีบหน้าเล็ก  ครีบบนหลังเป็นรูปสามเหลี่ยมโค้งมน  ขนาดไม่ใหญ่นัก  มีสีเทาดำ  ถึงสีเทาสว่าง  ลำตัวมีความยาวประมาณ  275 เซนติเมตร  แต่เฉลี่ยแล้วมีความยาว  210 เซนติเมตร  มีน้ำหนักประมาณ 115 130 กิโลกรัม
ปลาโลมาอิรวดีพบได้ตามชายฝั่ง  น้ำตื้น  น้ำเค็ม  และบริเวณปากแม่น้ำ ชอบอยู่ตามแนวชายฝั่งมากว่า  บริเวณปากแม่น้ำ  น้ำเค็ม  ไม่สามารถพบปลาโลมาอิรวดี  ในบริเวณไม่ปลอดภัยนอกชายฝั่ง  ซึ่งพบได้ระยะที่ไม่ไกลจากชายฝั่งนัก


ปลาโลมาหลังโหนก
ปลาโลมาหลังโหนกมีลักษณะคล้ายคลึงกับปลาโลมาปากขวดทั่วไป  ยิ่งมีอายุมากเท่าไรสีจะจางลงเรี่อย ๆ โคนครีบหลังเป็นฐานกว้างโค้งลงด้านหลัง   บางครั้งอาจพบว่าฐานครีบมีความกว้างถึงหนึ่งในสามของความยาวลำตัวทีเดียว   ในทะเลเราสามารถสังเกตปลาโลมาชนิดนี้ได้จากลำตัวที่บึกบึนกลมยาวสีท้องขาวบนหลังครีบเป็นโหนกแต่สิ่งที่ยากก็คือการจะเข้าไปใกล้ ๆ มัน 
                  ปลาโลมาหลังโหนกมีขนาดปกติปลาโลมาตัวเต็มวัยจะมีความยาว 2 ถึง 2.8 เมตรหนัก 150 ถึง 200 กิโลกรัม ลูกโลมาเกิดใหม่ยาวประมาณ 1 เมตร หนัก 25 กิโลกรัม กินปลาเป็นหลัก การว่ายน้ำของโลมานี้จะเป็นไปอย่างช้า ๆ ไม่ชอบเล่นคลื่น   บริเวณหัวเรือขณะเรือแล่น แต่ชอบเล่นในอากาศ เช่น ตีน้ำด้วยหาง 

หรือโผล่หัวผลุบ ๆ โผล่ ๆ ชอบตะแคงแล้วใช้ครีบว่ายน้ำ แม้จะเป็นโลมา ที่ระแวดระวังเรือ แต่ก็สามารถเข้าฝูงกับชนิดอื่นได้ดี โดยเฉพาะพวกโลมาปากขวด โลมาหลังโหนกแพร่กระจายอยู่ทั่วไป แต่ดูเหมือนมันชอบที่จะอาศัยอยู่ตามชายฝั่งของทะเลเขตร้อน ในมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิก 
ซึ่งมีความลึกไม่มาหนักคือลึกไม่เกิน 20 เมตร

                  ปลาโลมาหลังโหนกพบได้ทั่วไป ตามชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิค และในทะเลจีนใต้ จึงได้ชื่อสามัญว่าIndo-Pacific humpback dolphin  เป็นที่น่าสังเกต โลมาหลังโหนกมีสีเปลี่ยนแปรจากสีเหลืองจนถึงสีชมพู จนบางครั้งเป็นสีขาวหรือสีเทา แต่สีที่ท้องจะเป็นส่วนที่มีสีจางที่สุด












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น