วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

ชีววิทยาของปลาโลมา


ชีววิทยาของโลมา

- โลมาเป็นสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม อยู่ในอันดับ (Order) Cetacea จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับวาฬที่มีฟัน เช่น วาฬเพชฌฆาต (Killer whale) วาฬนำร่อง (Pilot whale) เป็นต้น

- รูปร่างเพรียว มีลักษณะลำตัวเรียวคล้ายกระสวย ผิวหนังเรียบและบางมาก แต่มีความยืดหยุ่นสูง ทำให้มีแรงเสียดทานกับกระแสน้ำน้อย ทำให้สามารถว่ายน้ำได้เร็ว

- มีการปรับปรุงระบบควบคุมอุณหภูมิในร่างกายโดยเพิ่มชั้นไขมัน (Blubber) ใต้ผิวหนังให้หนาขึ้นเป็นฉนวนกันความร้อนซึ่งให้อบอุ่นทดแทนขน โดยในชั้นไขมันจะมีเส้นเลือดมาหล่อเลี้ยงน้อยเพื่อป้องกันการแลกเปลี่ยนอุณหภูมิกับน้ำ

- การลดอัตราการหายใจลง เพื่อป้องกันการสูญเสียความร้อนที่ปล่อยออกมากับอากาศ และเป็นผลให้โลมาสามารถดำน้ำได้นาน

- ไม่มีอวัยวะรับกลิ่น



สายสัมพันธ์โลมาแม่ ลูก

โลมาเป็นสัตว์สังคม อยู่รวมกันเป็นฝูง เมื่อโลมาถึงวัยเจริญพันธุ์ก็จะมีคู่ มีการผสมพันธุ์เพื่อสืบพันธุ์ต่อไป
เมื่อโลมาตั้งท้องบางตัวใช้เวลา 9 เดือน บางตัวใช้เวลาถึง 1 ปี ในช่วงที่แม่โลมาตั้งท้อง เราจะต้องมีการดูแลแม่เป็นอย่างดี สังเกตว่าในช่วงท้องแก่ใกล้คลอด แม่จะมีพฤติกรรมทีเปลี่ยนไป ไม่ยอมให้พ่อผสมพันธุ์ กินอาหารน้อยลง ตีตัวออกห่างจากกลุ่ม กระโดดไปมาหลาย ๆ ครั้ง ส่งเสียงร้องบ้าง เป็นสัญญาณเตือนว่าเริ่มเจ็บท้องใกล้คลอด ในช่วงนี้เราจะให้งดกิจกรรมทุกกิจกรรม ในช่วงนี้เพื่อน ๆ ในฝูงและพ่อพันธุ์ให้ความสนใจแม่มาก ระยะเวลาไม่นานนักแม่มีการกระโดดแรงกว่าเดิม เพื่อกระตุ้นให้ลูกน้อยเคลื่อนตัวออกมาทีละน้อย และหางน้อย ๆ ก็จะโผล่ออกมาจากท้องแม่(ช่องคลอด) ในที่สุดลูกโลมาตัวน้อยก็ผลุบออกมาชมโลกภายนอกเป็นครั้งแรก เพื่อน ๆ ในฝูงและพ่อก็จะช่วยพยุงตัวลูกโลมาขึ้นมาเหนือน้ำอย่างรวดเร็ว (เพื่อหายใจ)
ด้วยความรักและห่วงใยของแม่ โดยสัญชาตญาณของแม่ แม่จะรีบหันตัวกลับเพื่อเอาหัวมาดันลูกให้โผล่ขึ้นมาด้วยเช่นกัน เมื่อลูกหายใจแล้ว แม่จะนำลูกเข้าสู้ใต้ท้องเพื่อดูดนม ซึ่งเป็นน้ำนมหยดแรกที่มีคุณค่าที่สุดและสำคัญต่อชีวิตลูกเป็นอย่างมาก และหากในบางครั้งลูกอ่อนแรง แม่ก็จะนำลูกพยุงไว้ที่หน้าอกหรือพยุงไว้ที่ครีบ หรือเกาะอยู่บนหลังซึ่งแม่เป็นผู้รับบทหนัก ส่วนเพื่อน ๆ ในฝูงและพ่อจะคอยดูแลอยู่ห่าง ๆ



ปลาโลมาสีชมพู
ลักษณะทั่วไปของปลาโลมาสีชมพู
 โลมาสีชมพูมีขนาดประมาณ  2.2-2.8 เมตร ตัวเมียจะเล็กกว่าตัวผู้เล็กน้อย หนักประมาณ 150-230 กิโลกรัม ตัวอ่อนมีขนาดตัวประมาณ 1 เมตร  อายุเฉลี่ยประมาณ 40 ปี มีสีหลากหลายมาก ขึ้นอยู่กับอายุ หรือ ฝูง  ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นสีเทาขาว  สีดำ และ สีชมพู   ตัวอ่อนจะมีสีเข้มกว่าตัวเต็มวัย ยิ่งแก่เท่าไหร่สีผิวจะยิ่งเป็นสีชมพูมากขึ้น บริเวณผิวด้านล่างจะเป็นจุดๆ และมีสีที่สว่างกว่าด้านบน
เมื่อแรกเกิด จะมีสีดำ
วัยเด็ก จะมีสีเทา
วัยรุ่น เริ่มจะมีจุดสีเทาปนชมพูเกิดขึ้น
วัยผู้ใหญ่ จะเป็นสีขาวออกชมพู และจุดสีเทาชมพูจะหายไป
โลมาสีชมพูยิ่งมีอายุมากจะมีสีสว่างขึ้น จนถึงเป็นสีชมพู สีชมพูนี้ไม่ได้มาจากเซลเม็ดสี แต่มาจากสีของหลอดเลือดที่ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เกิดภาวะที่อุณหภูมิของร่างกายสูงเกินไป
พฤติกรรมโดยทั่วไป ชอบอยู่บริเวณชายฝั่ง หรือบริเวณที่มีความลึกไม่เกิน 20 เมตร บริเวณที่โลมาอาศัยอยู่มักจะพบว่า ชายฝั่งทะเลนั้นจะมีป่าชายเลนอยู่ด้วยเสมอๆ  แต่จะต้องอยู่ในบริเวณน้ำตื้นเท่านั้น  โลมาสายพันธุ์นี้ชอบอาศัยประจำที่หรือมีการย้ายที่อพยพน้อยมากและอาศัยไม่ห่างจากชายฝั่งเกินระยะ 1 กิโลเมตร ทำให้นักท่องเที่ยวสามารถพบเห็นได้โดยง่าย โดยมักจะพบเห็นตั้งแต่ตอนเช้า จะอยู่เป็นกลุ่มเล็กๆ ประมาณ 10 ตัว ว่ายน้ำช้า ประมาณ 4.8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และจะดำน้ำประมาณ 40-60 วินาที ก่อนจะโผล่ขึ้นมาหายใจ  บางครั้งมีพฤติกรรมดุร้าย โดยเฉพาะเมื่อมีผู้ล่าเข้ามา
อาหาร
ชอบกิน ปลาเล็ก ปลาหมึก และสัตว์พวกกุ้ง เคย ปู เป็นต้น  เมื่อออกหาอาหาร จะใช้สัญญาณเอคโค และออกล่าเป็นกลุ่ม ถึงแม้ว่าจะเป็นสัตว์ที่รวมกลุ่ม แต่โลมาสีชมพูก็จะดุร้ายได้เหมือนกัน และจะต้องการแยกตัวเองออกไปพอสมควรจากตัวอื่นเมื่อต้องการหาอาหาร หรือต้องกินอาหาร


การว่ายน้ำของปลาโลมา
                 ปลาโลมามีวิวัฒนาการรูปร่างให้เพรียวทำให้สามารถว่ายน้ำได้เร็ว และเนื่องจากยังใช้ปอดในการหายใจ จมูกหรือช่องหายใจจึงเลื่อนไปอยู่บนสุดของส่วนหัว เพื่อสะดวกในการหายใจ  ท่อหายใจ กับช่องปากจะแยกกันเพื่อสะดวกในการกินอาหารใต้น้ำ มีการปรับปรุงระบบควบคุมอุณหภูมิในร่างกายให้อบอุ่นทดแทนขน ซึ่งลดรูปไปเนื่องจากไม่เหมาะสมในการใช้งานใต้น้ำ      
                  ผิวของโลมาทีมีลักษณะเป็นลูกคลื่นสามารถช่วยลดแรงเสียดทานได้ส่วนหนัง และที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือสะเก็ดผิวของปลาโลมาที่ลอกหลุดออกมานั้นยังช่วยลดแรงต้านโดยไปลดจำนวนของ Vortices (น้ำวนเล็กๆ) ที่เกิดขึ้นรอบๆตัวโลมา ซึ่ง vortices ที่เกิดขึ้นจากการไหลของกระแสน้ำผ่านผิวโลมานี้จะหน่วงให้โลมาว่ายน้ำได้ช้าลง
                  ปลาโลมามีลักษณะลำตัวเรียวคล้ายตอร์ปิโดทำให้มีอัตราส่วนระหว่างพื้นที่ ผิวต่อปริมาตรต่ำ เป็นการลดพื้นที่ที่สัมผัสน้ำ การปรับปรุงโดยเพิ่มชั้นไขมัน (Blubber) ใต้ผิวหนังให้หนาขึ้นเป็นฉนวนกันความร้อน โดยในชั้นไขมันจะมีเส้นเลือดหล่อเลี้ยงน้อยป้องกันการแลกเปลี่ยนอุณหภูมิกับน้ำ ระบบเส้นเลือดดำจะถูกล้อมด้วยเส้นเลือด แดงซึ่งมีอุณหภูมิสูงกว่า นอกจากนั้นการปรับตัวโดยลดอัตราการหายใจลง เป็นการลดการสูญเสียความร้อนที่ออกมากับ อากาศ และเป็นผลให้ปลาโลมาสามารถดำน้ำได้นาน

การอยู่อาศัยของปลาโลมา
        ปลาโลมาอยู่รวมกันเป็นฝูง มีทั้งฝูงขนาดใหญ่หรือเล็ก หรือตั้งแต่ไม่กี่ตัวจนถึงหลายพันตัวขึ้นไป  พบที่บริเวณชายฝั่งจากปากแม่น้ำ อ่าว ทะเลสาบ อ่าวน้ำตื้น  บางครั้งพวกมันอาจจะท่องเที่ยวไปไกลตามแม่น้ำ  เขตนอกชายฝั่งมักไม่ค่อยพบหรือบางเขตนอกชายฝั่งอาจพบได้แถวเกาะ หรือนอกชายฝั่ง
การออกลูกของปลาโลมา
                 ปลาโลมาส่วนใหญ่คลอดลูกโดยส่วนหางออกมาก่อน เพื่อให้ส่วนของช่องหายใจเป็นส่วนสุดท้ายที่ออกมาสัมผัสน้ำทะเล และสามารถว่ายน้ำได้ทันที โดยโผล่ขึ้นมาสูดอากาศหายใจครั้งแรกในทันทีที่คลอด ลูกแรกเกิดมีขนาดใหญ่ประมาณ 40% ของแม่
                  ลูกปลาโลมาแรกเกิดจะมีขนาดเมื่อเทียบกับตัวแม่ค่อนข้างใหญ่กว่าสัตว์ชนิดอื่น ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการรักษา อุณหภูมิในร่างกาย ลูกโลมาบางชนิดมีขน 2 ข้างของแนวปากบน (Snout) และจะหดหายไปเมื่อโตขึ้น


การสื่อสารของปลาโลมา
                 ปลาโลมามีสำเนียงเสียงภาษาประมาณ 15 ล้านคำ เป็นสัตว์ที่มีสัดส่วนของสมองมากกว่าสัตว์ชนิดอื่นๆ เวลาที่ปลาโลมาส่งเสียงออกมาเสมือนมีคลื่นพิเศษ เรียกว่าคลื่น Ultrasonic ซึ่งคลื่นชนิดนี้ใช้ในการสื่อสารกันเองในฝูงปลาโลมาด้วยกัน เมื่อเวลาพลัดหลงจากฝูงหรือทำกิจกรรมอื่นๆ

การเรียนรู้ของปลาโลมา
                 ปลาโลมาเป็นสัตว์ที่ฉลาดและมีขนาดสมอง เมื่อเทียบกับลำตัวขนาดใหญ่มาก แถมภายในสมองยังซับซ้อนอีกด้วย โลมาปากขวดนั้นถึงกับมีขนาดของสมอง เทียบกับลำตัวใหญ่เป็นที่สองรองจากมนุษย์ และ สมองส่วนซีรีบรัม อันเป็นส่วนของความจำ และการเรียนรู้ ก็มีขนาดใหญ่มาก เป็นศูนย์รวมของการรับกลิ่น การมองเห็น และการได้ยิน จนทำให้ นักวิทยาศาสตร์ผู้หนึ่ง กล่าวว่า ไม่แน่นักว่าโลมาอาจจะฉลาดเท่ากับมนุษย์ก็เป็นได้ จึงทำให้ในปัจจุบัน คนได้นำปลาโลมามาฝึกทำเพื่อการบันเทิงต่างๆ



สายพันธุ์ปลาโลมา

ปลาโลมาปากขวด
               ปลาโลมาปากขวดได้มีการบันทึกว่าเป็นปลาโลมาที่มีขนาดกลาง  ร่างกายกำยำ  มีครีบโค้งปานกลาง มีสีดำ  ตัวโตเต็มวัยมีความยาว 2- 3.8 เมตร  น้ำหนัก  220 500 กิโลกรัม (เฉลี่ย  242 กิโลกรัม)  มีความแตกต่างกันในแต่ละลักษณะทางภูมิศาสตร์   ขนาดของร่างกายดูจะมีความแปรผันเปลี่ยนแปลงอย่างตรงกันข้ามกับอุณหภูมิของน้ำในแต่ละส่วนของโลก   มีสีเทาสว่างถึงสีดำในส่วนหน้าและมีสีสว่างในช่วงท้อง
               ปลาโลมาปากขวดมีขนาดที่แตกต่างกันตามที่อยู่อาศัย พบได้บริเวณใกล้ชายฝั่งในเขตร้อน  มีแหล่งที่อยู่ที่กว้างขวางทั่วไป  พบได้ตามชายฝั่งจากปากแม่น้ำ อ่าว ทะเลสาบ อ่าวน้ำตื้น  บางครั้งพวกมันอาจจะท่องเที่ยวไปไกลตามแม่น้ำ  เขตนอกชายฝั่งมักไม่ค่อยพบหรือบางเขตนอกชายฝั่งอาจพบได้แถวเกาะ 




ปลาโลมาริซโซส์
                         ปลาโลมาริซโซส์   มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่    5   ของตระกูล  ซึ่งตัวเต็มวัยมีขนาด  ประมาณ  4  เมตร  ทั้งเพศผู้และเพศเมีย  ร่างกายส่วนหน้ามีความแข็งแรงอย่างมาก  ครีบส่วนหน้าเป็นครีบที่มีความยาวที่สุดในทุกส่วนของร่างกายส่วนหัวมีรูปร่างแบบกระเปาะ  และมีรอยย่นในแนวตรงยาวในพื้นที่ส่วนหน้า  สีเปลี่ยนไปตามอายุที่มากขึ้น  ช่วงอายุไม่มากมีสีเทาถึงน้ำตาล  หลังจากนั้นจะมีสีดำ  และเริ่มมีสีสว่างขึ้นขณะที่เข้าสู่ระยะตัวเต็มวัย 
                        ปลาโลมาริซโซส์อาศัยอยู่ในมหาสมุทรลึก และที่ลาดเอียงอย่างต่อเนื่องที่ระดับความลึก  400 1000 เมตร และพบบ่อยที่ปากแม่น้ำ  บางครั้งอาจพบอยู่บนผิวน้ำ 


ปลาโลมาอิรวดี
ปลาโลมาอิรวดี  มีลักษณะคล้ายกับ  ปลาวาฬ Delphinapterus  leucas  มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับปลาวาฬนักล่า  Orcinus  orca  หัวของปลาโลมาอิรวดี  มีลักษณะกว้าง  ไม่มีรอยหยัก  ครีบหน้าเล็ก  ครีบบนหลังเป็นรูปสามเหลี่ยมโค้งมน  ขนาดไม่ใหญ่นัก  มีสีเทาดำ  ถึงสีเทาสว่าง  ลำตัวมีความยาวประมาณ  275 เซนติเมตร  แต่เฉลี่ยแล้วมีความยาว  210 เซนติเมตร  มีน้ำหนักประมาณ 115 130 กิโลกรัม
ปลาโลมาอิรวดีพบได้ตามชายฝั่ง  น้ำตื้น  น้ำเค็ม  และบริเวณปากแม่น้ำ ชอบอยู่ตามแนวชายฝั่งมากว่า  บริเวณปากแม่น้ำ  น้ำเค็ม  ไม่สามารถพบปลาโลมาอิรวดี  ในบริเวณไม่ปลอดภัยนอกชายฝั่ง  ซึ่งพบได้ระยะที่ไม่ไกลจากชายฝั่งนัก


ปลาโลมาหลังโหนก
ปลาโลมาหลังโหนกมีลักษณะคล้ายคลึงกับปลาโลมาปากขวดทั่วไป  ยิ่งมีอายุมากเท่าไรสีจะจางลงเรี่อย ๆ โคนครีบหลังเป็นฐานกว้างโค้งลงด้านหลัง   บางครั้งอาจพบว่าฐานครีบมีความกว้างถึงหนึ่งในสามของความยาวลำตัวทีเดียว   ในทะเลเราสามารถสังเกตปลาโลมาชนิดนี้ได้จากลำตัวที่บึกบึนกลมยาวสีท้องขาวบนหลังครีบเป็นโหนกแต่สิ่งที่ยากก็คือการจะเข้าไปใกล้ ๆ มัน 
                  ปลาโลมาหลังโหนกมีขนาดปกติปลาโลมาตัวเต็มวัยจะมีความยาว 2 ถึง 2.8 เมตรหนัก 150 ถึง 200 กิโลกรัม ลูกโลมาเกิดใหม่ยาวประมาณ 1 เมตร หนัก 25 กิโลกรัม กินปลาเป็นหลัก การว่ายน้ำของโลมานี้จะเป็นไปอย่างช้า ๆ ไม่ชอบเล่นคลื่น   บริเวณหัวเรือขณะเรือแล่น แต่ชอบเล่นในอากาศ เช่น ตีน้ำด้วยหาง 

หรือโผล่หัวผลุบ ๆ โผล่ ๆ ชอบตะแคงแล้วใช้ครีบว่ายน้ำ แม้จะเป็นโลมา ที่ระแวดระวังเรือ แต่ก็สามารถเข้าฝูงกับชนิดอื่นได้ดี โดยเฉพาะพวกโลมาปากขวด โลมาหลังโหนกแพร่กระจายอยู่ทั่วไป แต่ดูเหมือนมันชอบที่จะอาศัยอยู่ตามชายฝั่งของทะเลเขตร้อน ในมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิก 
ซึ่งมีความลึกไม่มาหนักคือลึกไม่เกิน 20 เมตร

                  ปลาโลมาหลังโหนกพบได้ทั่วไป ตามชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิค และในทะเลจีนใต้ จึงได้ชื่อสามัญว่าIndo-Pacific humpback dolphin  เป็นที่น่าสังเกต โลมาหลังโหนกมีสีเปลี่ยนแปรจากสีเหลืองจนถึงสีชมพู จนบางครั้งเป็นสีขาวหรือสีเทา แต่สีที่ท้องจะเป็นส่วนที่มีสีจางที่สุด












วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

ความฉลาดของโลมา

ความฉลาดของโลมา

ว่ากันว่า โลมานั้นฉลาดไม่แพ้เด็กตัวเล็กๆ เลยทีเดียว ที่เป็นเช่นนี้เพราะโลมามีขนาดสมอง เมื่อเทียบกับลำตัวขนาดใหญ่มาก แถมภายในสมองยังซับซ้อนอีกด้วย โลมาปากขวดนั้นถึงกับมีขนาดของสมอง เทียบกับลำตัวใหญ่เป็นที่สองรองจากมนุษย์ และ สมองส่วนซีรีบรัม อันเป็นส่วนของความจำ และการเรียนรู้ ก็มีขนาดใหญ่มาก เป็นศูนย์รวมของการรับกลิ่น การมองเห็น และการได้ยิน จนทำให้ นักวิทยาศาสตร์ผู้หนึ่ง กล่าวว่า ไม่แน่นักว่าโลมาอาจจะฉลาดเท่ากับมนุษย์ก็เป็นได้ โลมาผู้ช่วยชีวิต เรื่องเล่าเกี่ยวกับปลาโลมาช่วยชีวิตคนนั้นมีอยู่บ่อยครั้ง แต่จริงๆแล้ว เป็นเพราะปลาโลมาต้องการช่วยชีวิตคนจริงๆ หรือ เชื่อว่าจริงๆ แล้ว ปลาโลมานั้นเป็นปลาที่อ่อนโยน รักสนุก และขี้เล่น ที่มันช่วยคนอาจเป็นเพราะมันต้องการเข้ามาเล่นสนุกๆ เท่านั้น หรือไม่เช่นนั้นก็อาจเป็น สัญชาตญาณของแม่ปลาที่มักจะดุนลูกขึ้นไปหายใจบนผิวน้ำอยู่เสมอ โดยเฉพาะถ้าลูกปลาเสียชีวิต ระหว่างคลอด จะพบว่าแม่ปลาจะพยายามดุนศพลูกเอาไว้ให้ใกล้ผิวน้ำมากที่สุด ภัยร้ายของโลมา ในประเทศไทย โลมาที่ติดอวนมาแล้ว จะถูกชำแหละเนื้อขายด้วยราคาถูกๆ เนื่องจากเนื้อปลาโลมามีความคาวมาก จึงไม่มีผู้นิยมบริโภคเท่าใดนัก ในประเทศญี่ปุ่น แต่เดิมเคยเป็นประเทศที่ล่าปลาวาฬมากที่สุดในโลก จนกระทั่งปลาวาฬใกล้สูญพันธ์ จึงถูกสั่งห้ามล่าปลาวาฬ หันมาล่าปลาโลมาแทน โดยเพิ่มปริมาณการล่าโลมาขึ้นเป็นสี่เท่า ทำให้โลมาในทะเลญี่ปุ่นลดน้อยลงเป็นอันมาก

รูปร่างของโลมา



รูปร่างของโลมา
โลมา อาศัยอยู่กระจัดกระจายทั่วไปในมหาสมุทรนับร้อยชนิด แต่ในประเทศไทยที่เรารู้จักกันดีมีอยู่ 2ชนิด คือ โลมาปากขวด กับ โลมาหัวบาตร บางครั้งยังพบโลมาอยู่ในแม่น้ำอีกด้วย เช่น ในแม่น้ำคงคที่ประเทศอินเดีย และในแม่น้ำโขง เป็นโลมาหัวบาตรน้ำจืด โลมา มีอวัยวะต่างๆทุกๆ ส่วนเหมือนกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป หากแต่ละส่วนของอวัยวะ จะปรับเปลี่ยนต่างไปจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป ดังนี้ จมูก โลมามีจมูกไว้หายใจ แต่จมูกนั้นต่างไปจากจมูกของสัตว์ อื่นๆ เพราะตั้งอยู่กลางกระหม่อมเลยทีเดียว เพื่อให้สะดวกต่อการเชิดหัวขึ้นหายใจเหนือน้ำ จากจมูกมีท่อหายใจต่อลงมาถึงปอดในตัว จึงไม่จำเป็นต้องให้น้ำผ่านเหงือกเข้าไปในปอดเพื่อช่วยหายใจเหมือนปลาทั่วไป หู หูของโลมานั้นเป็นเพียงแค่รูเล็กจิ๋วติดอยูด้านข้างของหัวเท่านั้น แต่หูของโลมามีประสิทธิภาพสูงมาก รับคลื่นเสียงใต้น้ำได้อย่างยอดเยี่ยม โดยเฉพาะกับภาษาที่โลมาสื่อสารกันด้วยเสียงที่มีคลื่นความถี่สูง การมองเห็น โลมามีดวงตาแจ่มใส เหมือนตาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีเปลือกตาปิดได้ และในเวลา กลางคืนตาก็จะเป็นประกาย เหมือนตาแมว ตาของโลมาไม่มีเมือกหุ้มเหมือนตาปลา และมองเห็นได้ไกลถึง 50 ฟุต เมื่ออยู่ในอากาศ สีผิว สีผิวของโลมาแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน ส่วนมากจะออกไปในโทนสีเทา ตั้งแต่เข้มเกือบดำ จนกระทั่งถึงเกือบขาว แต่โดยทั่วไปโลมาจะมีสีผิวแบบทูโทนคัลเลอร์ คือมีสองสีตัดกัน ด้านบน เป็นสีเทาเข็ม ด้านล่างเป็นสีเกือบขาว เพื่อพรางตัวในทะเล ไม่ให้ศัตรูเห็น เพราะเมื่อมองจากด้านบน สีเข็มจะกลืนกับสีน้ำทะเล และถ้ามองจากด้านล่างขึ้นไป สีขาวก็จะกลืนเข้ากับแสงแดดเหนือผิวน้ำ

Dolphin

Dolphin





  
โลมา เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมซึ่งอาศัยอยู่ในน้ำและมีสติปัญญาสูงชนิดหนึ่ง มีเชื้อสายใกล้เคียงกับ วาฬ ในภาษาอังกฤษเรียกโลมาว่า Dolphin มาจากภาษากรีกโบราณ δελφίς เดลฟิส (delphis) ตำนานกรีก เล่าว่า เทพแห่งไวน์ของกรีก ชื่อ ไดโอนีซอส (Dionysos) แปลงลงมาเป็นมนุษย์ และได้โดยสารเรือข้ามจากเกาะอิคาเรีย (Ikaria) ไปยังเกาะนาซอสในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไดโอนีซอสนั้นแม้จะเป็นเทพ ทว่าไม่มีญาณหยั่งรู้ว่าเรือลำที่ตนโดยสารไปนั้นเป็นเรือโจร ลูกเรือจะปล้นผู้โดยสารทุกคนถ้วนหน้า เมื่อถึงคราวของไดโอนีซอส เขาจึงถูกลูกเรือปล้น และคิดจะจับเขาไปขายเป็นทาส ด้วยเหตุนี้ เขาจึงจำต้องแสดงตนว่าเป็นเทพ และสาปให้เรือมีเถาองุ่นขึ้นเต็ม มีเสียงขลุ่ยดังขึ้น พวกลูกเรือตกใจ จึงกระโดดน้ำหนีไปหมด และได้กลายร่างเป็นปลาโลมา มาจนกระทั่งทุกวันนี้ เมื่อกลายเป็นปลาโลมา นิสัยของลูกเรือก็เปลี่ยนไปด้วย กลายเป็นสัตว์ที่ใจดี มีเมตตา แถมยังช่วยเทพแห่งสมุทร คือ โพซิดอนหาเจ้าสาวอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ปลาโลมาจึงได้รับเกียรติจากโพซิดอน ตั้งชื่อ กลุ่มดาวกลุ่มหนึ่งว่า กลุ่มดาวโลมาอีกด้วย ที่จริงแล้วโลมาเคยเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อยู่บนบกเหมือนมนุษย์ แต่เพื่อความพยายามหาอาหาร เลี้ยงปากเลี้ยงท้อง และหนีศัตรู โลมาจึงค่อยๆปรับตัวให้ลงไปอยู่ในน้ำ เพื่อความอยู่รอดแทน นั่นเป็นตำนานของคนโบราณ แต่ในความเป็นจริงแล้ว โลมาเป็นสัตว์เลือดอุ่นอาศัยอยู่ในน้ำ คลอดลูก เป็นตัว แถมยังเลี้ยงลูกด้วยนมเหมือนมนุษย์