วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

ชีววิทยาของปลาโลมา


ชีววิทยาของโลมา

- โลมาเป็นสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม อยู่ในอันดับ (Order) Cetacea จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับวาฬที่มีฟัน เช่น วาฬเพชฌฆาต (Killer whale) วาฬนำร่อง (Pilot whale) เป็นต้น

- รูปร่างเพรียว มีลักษณะลำตัวเรียวคล้ายกระสวย ผิวหนังเรียบและบางมาก แต่มีความยืดหยุ่นสูง ทำให้มีแรงเสียดทานกับกระแสน้ำน้อย ทำให้สามารถว่ายน้ำได้เร็ว

- มีการปรับปรุงระบบควบคุมอุณหภูมิในร่างกายโดยเพิ่มชั้นไขมัน (Blubber) ใต้ผิวหนังให้หนาขึ้นเป็นฉนวนกันความร้อนซึ่งให้อบอุ่นทดแทนขน โดยในชั้นไขมันจะมีเส้นเลือดมาหล่อเลี้ยงน้อยเพื่อป้องกันการแลกเปลี่ยนอุณหภูมิกับน้ำ

- การลดอัตราการหายใจลง เพื่อป้องกันการสูญเสียความร้อนที่ปล่อยออกมากับอากาศ และเป็นผลให้โลมาสามารถดำน้ำได้นาน

- ไม่มีอวัยวะรับกลิ่น



สายสัมพันธ์โลมาแม่ ลูก

โลมาเป็นสัตว์สังคม อยู่รวมกันเป็นฝูง เมื่อโลมาถึงวัยเจริญพันธุ์ก็จะมีคู่ มีการผสมพันธุ์เพื่อสืบพันธุ์ต่อไป
เมื่อโลมาตั้งท้องบางตัวใช้เวลา 9 เดือน บางตัวใช้เวลาถึง 1 ปี ในช่วงที่แม่โลมาตั้งท้อง เราจะต้องมีการดูแลแม่เป็นอย่างดี สังเกตว่าในช่วงท้องแก่ใกล้คลอด แม่จะมีพฤติกรรมทีเปลี่ยนไป ไม่ยอมให้พ่อผสมพันธุ์ กินอาหารน้อยลง ตีตัวออกห่างจากกลุ่ม กระโดดไปมาหลาย ๆ ครั้ง ส่งเสียงร้องบ้าง เป็นสัญญาณเตือนว่าเริ่มเจ็บท้องใกล้คลอด ในช่วงนี้เราจะให้งดกิจกรรมทุกกิจกรรม ในช่วงนี้เพื่อน ๆ ในฝูงและพ่อพันธุ์ให้ความสนใจแม่มาก ระยะเวลาไม่นานนักแม่มีการกระโดดแรงกว่าเดิม เพื่อกระตุ้นให้ลูกน้อยเคลื่อนตัวออกมาทีละน้อย และหางน้อย ๆ ก็จะโผล่ออกมาจากท้องแม่(ช่องคลอด) ในที่สุดลูกโลมาตัวน้อยก็ผลุบออกมาชมโลกภายนอกเป็นครั้งแรก เพื่อน ๆ ในฝูงและพ่อก็จะช่วยพยุงตัวลูกโลมาขึ้นมาเหนือน้ำอย่างรวดเร็ว (เพื่อหายใจ)
ด้วยความรักและห่วงใยของแม่ โดยสัญชาตญาณของแม่ แม่จะรีบหันตัวกลับเพื่อเอาหัวมาดันลูกให้โผล่ขึ้นมาด้วยเช่นกัน เมื่อลูกหายใจแล้ว แม่จะนำลูกเข้าสู้ใต้ท้องเพื่อดูดนม ซึ่งเป็นน้ำนมหยดแรกที่มีคุณค่าที่สุดและสำคัญต่อชีวิตลูกเป็นอย่างมาก และหากในบางครั้งลูกอ่อนแรง แม่ก็จะนำลูกพยุงไว้ที่หน้าอกหรือพยุงไว้ที่ครีบ หรือเกาะอยู่บนหลังซึ่งแม่เป็นผู้รับบทหนัก ส่วนเพื่อน ๆ ในฝูงและพ่อจะคอยดูแลอยู่ห่าง ๆ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น