การว่ายน้ำของปลาโลมา
ปลาโลมามีวิวัฒนาการรูปร่างให้เพรียวทำให้สามารถว่ายน้ำได้เร็ว
และเนื่องจากยังใช้ปอดในการหายใจ จมูกหรือช่องหายใจจึงเลื่อนไปอยู่บนสุดของส่วนหัว
เพื่อสะดวกในการหายใจ ท่อหายใจ
กับช่องปากจะแยกกันเพื่อสะดวกในการกินอาหารใต้น้ำ มีการปรับปรุงระบบควบคุมอุณหภูมิในร่างกายให้อบอุ่นทดแทนขน
ซึ่งลดรูปไปเนื่องจากไม่เหมาะสมในการใช้งานใต้น้ำ
ผิวของโลมาทีมีลักษณะเป็นลูกคลื่นสามารถช่วยลดแรงเสียดทานได้ส่วนหนัง และที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือสะเก็ดผิวของปลาโลมาที่ลอกหลุดออกมานั้นยังช่วยลดแรงต้านโดยไปลดจำนวนของ Vortices (น้ำวนเล็กๆ) ที่เกิดขึ้นรอบๆตัวโลมา ซึ่ง vortices ที่เกิดขึ้นจากการไหลของกระแสน้ำผ่านผิวโลมานี้จะหน่วงให้โลมาว่ายน้ำได้ช้าลง
ปลาโลมามีลักษณะลำตัวเรียวคล้ายตอร์ปิโดทำให้มีอัตราส่วนระหว่างพื้นที่
ผิวต่อปริมาตรต่ำ เป็นการลดพื้นที่ที่สัมผัสน้ำ การปรับปรุงโดยเพิ่มชั้นไขมัน (Blubber) ใต้ผิวหนังให้หนาขึ้นเป็นฉนวนกันความร้อน
โดยในชั้นไขมันจะมีเส้นเลือดหล่อเลี้ยงน้อยป้องกันการแลกเปลี่ยนอุณหภูมิกับน้ำ
ระบบเส้นเลือดดำจะถูกล้อมด้วยเส้นเลือด แดงซึ่งมีอุณหภูมิสูงกว่า
นอกจากนั้นการปรับตัวโดยลดอัตราการหายใจลง เป็นการลดการสูญเสียความร้อนที่ออกมากับ
อากาศ และเป็นผลให้ปลาโลมาสามารถดำน้ำได้นาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น